ชวนเด็กวัยอนุบาลเล่นเกมภาษาอังกฤษจากตัวอักษรไม้เคลื่อนที่ wooden movable alphabet

กรกฎาคม 29, 2562


กิจกรรมเสริมภาษาอังกฤษจากตัวอักษรไม้เคลื่อนที่ wooden movable alphabet


ตัวอักษรเคลื่อนที่ เป็นอีกหนึ่งสื่อการเรียนรู้ที่จะช่วยให้เด็กๆ ได้เข้าใจเรื่องตัวอักษรและเริ่มต้นทักษะการเขียน

ตัวอักษรเคลื่อนที่แบบภาษาอังกฤษในกล่องไม้จะมี 26 ช่อง สำหรับ 26 ตัวอักษรเรียงตามลำดับ ตัวพยัญชนะจะเป็นสีแดงและตัวสระจะเป็นสีน้ำเงิน เพื่อให้เด็กๆเข้าใจภาพรวมของหลักการการผสมคำได้ง่ายขึ้น 

จุดประสงค์หลักของการใช้ตัวอักษรที่ คือเตรียมความพร้อมให้เด็กๆสำหรับการเขียนการอ่านและการสะกดคำ ซึ่งในส่วนของการเรียนรู้แต่ละหลักการสอนจะขึ้นอยู่กับแต่ละหลักสูตร เราจะไม่ลงลึกถึงตรงนั้นค่ะ แต่จะเน้นเป็นกิจกรรมเกมการเล่นที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กๆได้เรียนผ่านการเล่นแบบสนุกเพลิดเพลิน

กิจกรรมจากตัวอักษรไม้เคลื่อนที่มหาสนุก


1. สำหรับเด็กวัย 2-3 ขวบ เริ่มจากกิจกรรมส่งเสริมการจำจดตัวอักษรทั้งหมดก่อน





เกมจับคู่ตัวอักษร

วิธีเล่น

- เรียงตัวอักษรให้ลูกบนโต๊ะ 1  ชุดตามลำดับตัวอักษร  
- เตรียมตัวอักษรอีก 1 ชุดใส่ถาดไว้
- ให้ลูกลองหยิบตัวอักษรในถาดมาวางจับคู่กับชุดที่เรียงไว้บนโต๊ะให้ถูกต้อง
- บางทีลูกอาจจะหยิบวางกลับหัว กลับหาง ก็ไม่ต้องรีบไปแก้ในทันทีค่ะ ค่อยๆบอกตอนเค้าเรียนเสร็จแล้วก็ได้
-ถ้าลูกยังทำไม่เสร็จ ก็ไม่ต้องกังวลค่ะ ค่อยเป็นค่อยไป เน้นให้เค้ารู้สึกสนุกและมีส่วนร่วมค่ะ




เกมค้นหาตัวอักษร

วิธีเล่น

-หาถาดมาใส่วัตถุดิบที่เราสะดวกใช้ เช่น ทราย ข้าวสาร ถั่ว หรืออะไรก็ได้ที่มีลักษณะๆเล็กๆคล้ายๆกัน
-เตรียมตัวอักษร 1 ชุด แล้วเอาซ่อนไว้ในถาด 1 ชุดนี่ จะใช้ 26 ตัว หรือจะแบ่งกลุ่มเป็นหมวดๆไปก็ตามสะดวกค่ะ
-ให้ลูกค่อยๆค้นหาตัวอักษร เมื่อเจอแล้วก็เอามาวางไว้ในกล่องที่เดิม
-กิจกรรมนี้ยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องประสาทสัมผัสจากวัตถุที่เราเลือกมาเทใส่ถาดอีกด้วยค่ะ ดังนั้นเวลาชวนลูกเล่นแต่ละรอบ ลองเปลี่ยนวัตถุดิบให้หลากหลายได้เลยนะคะ

2. สำหรับเด็กวัย 3-4 ขวบ  ต่อกันที่อักษรต้นค่ะ



เกมจับคู่ตัวอักษรตัวพิมพ์ใหญ่-ตัวพิมพ์เล็ก

วิธีเล่น

- เราปรับให้สนุกมากขึ้นด้วยการ ปริ้นท์อักษรตัวเล็กแล้วพับเตรียมไว้
- ให้ลูกเลือกเปิดกระดาษที่พับไว้ ดูว่าข้างไหนคือตัวอักษรอะไร
- จากนั้นให้ลูกจับคู่ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ (capital letters) กับตัวพิมพ์เล็ก (lowercase letters)
- เมื่อลูกจับคู่เสร็จแล้ว เราจะเปิดให้ฟังเสียงโฟนิคส์และชี้คำศัพท์ให้ลูกออกเสียงตามทุกตัวเลย พยายามค่อยทบทวนซ้ำๆค่ะ (เราเปิดฟังจาก Jolly Phonics Application)

เกมจับคู่เสียงอักษรต้น กับตัวพยัญชนะ

วิธีเล่น

- เรียงตัวอักษรให้ลูกบนโต๊ะ 1  ชุดตามลำดับตัวอักษร 
- เตรียมของให้ลูกในถาด เป็นหมวดต่างๆที่ลูกชอบ เช่น สัตว์ ผลไม้ อาหาร ยานพาหนะ
- ให้ลูกหยิบของทีละชิ้น อ่านออกเสียง แล้วจับคู่เสียงอักษร เช่น
เมื่อลูกหยิบแมวออกมา  ก็ให้ลูกออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษ แมว = Cat  à Cat = C 
- แล้วให้ลองให้ลูกเอาแมวไปวางที่ตัวอักษรที่เตรียมไว้ให้ถูกต้อง (แมววางที่ตัว C คำศัพท์ไหนที่ลูกไม่รู้หรือยังจำไม่ค่อยได้ เราก็ช่วยกันค้นหาข้อมูลกันตรงนั้นเลยค่ะ

3. สำหรับเด็กวัย 4-5 ขวบ  บางคนเริ่มผสมคำเป็นแล้วค่ะ 







เกมสะกดคำตามรูปภาพ

วิธีเล่น

- เตรียมรูปภาพต่างๆเริ่มจากคำง่ายๆไว้สอนลูก เริ่มจากcvcก่อนเช่น bat pot man let pig etc..

- วางรูปทีละใบบนโต๊ะ ให้ลูกหยิบตัวอักษรไม้ที่มีความหมายเหมือนในรูปไปวางไว้ใต้หรือข้างรูปค่ะ

- ค่อยๆเพิ่มความยากของคำศัพท์ตามความพร้อมของลูกค่ะ





4. สำหรับเด็กวัย 5-6 ขวบ  ฝึกผสมคำควบกล้ำ เรียนรู้เรื่องสระเสียงสั้นเสียงยาว คำผสม และอาจจะริ่มเพิ่มคำศัพท์ Sight Words กลุ่มของคำที่เห็นบ่อยๆ คำคุ้นตา เป็นคำศัพท์ที่เด็ก ๆ ควรอ่านได้โดยไม่ต้องอาศัยหลักการโฟนิคส์ หรือสะกดคำ 

เกม Sight words

วิธีเล่น
   
- เตรียมบัตรคำศัพท์ หมวด sight words  ใส่กล่องไว้เพิ่มความตื่นเต้น
- ให้ลูกหยิบคำศัพท์ที่อยู่ในกล่องขึ้นมาทีละใบมาวางบนโต๊ะ
- ให้ลูกหยิบตัวอักษรไม้ มาสะกดให้ตรงกับเหมือนบัตรคำศัพท์ที่วางไว้ค่ะ
- สามารถดัดแปลงเกมนี้ไปใช้กับคำศัพท์หมวดอื่นๆได้นะคะ





พ่อแม่สามารถปรับเกมไปตามเนื้อหาหลักสูตรที่ลูกเรียนรู้ได้เลย และกิจกรรมเหล่านี้ก็เป็นไกค์คร่าวๆไม่ตายตัว ปรับได้ตามความพร้อมของลูกแต่ละคนค่ะ เพราะเด็กแต่ละคนย่อมมีพื้นฐานความรู้ด้านภาษาอังกฤษไม่เท่ากัน  ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของแต่ละครอบครัว และความสนใจของเด็กๆแต่ละคนด้วยค่ะ

แล้วจะรู้ได้อย่างไร ว่าเราควรเริ่มต้นทำกิจกรรมในส่วนไหน

ถ้าลูกยังเล็กก็เริ่มนับ 1 ได้เลย เลือกหลักสูตรที่เราคิดว่าน่าจะเหมาะกับลูก แล้วก็ค่อยๆทำกิจกรรมเตรียมความพร้อมให้ลูกไปตามแต่ละหลักสูตรได้เลย
ถ้าลูกเข้าโรงเรียนแล้ว แบบง่ายที่สุดคือ เอาแบบเรียนภาษาอังกฤษลูกมาเปิดดูเลยค่ะ ตอนนี้ลูกเราเรียนเกี่ยวกับอะไร ลองพูดคุยกับลูกเพื่อประเมินว่า ลูกมีความเข้าใจเนื้อหาเท่ากับในหนังสือที่ลูกกำลังเรียนมั้ย ถ้าไม่เราก็ต้องหากิจกรรมย้อนไปก่อนหน้านี้เพื่อค่อยๆปูพื้นฐานให้ลูกก่อนค่ะ 

ยังไงก็อยาก ควรเสริมให้เป็นกิจกรรมที่สนุก สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวไว้ก่อน ให้ลูกได้มีความรู้สึกดีที่ได้เรียนเรื่องภาษาค่ะ

สามารถนำกิจกรรมไปปรับใช้กับ สื่อการสอนที่มีได้นะคะ ไม่จำเป็นต้องใช้ตัวอักษรไม้เท่านั้น อาจจะเป็นบัตรคำหรือตัวอักษรแม่เหล็ก แบบไหนก็ได้เอาที่ครอบครัวสะดวกและลูกชอบค่ะ 



You Might Also Like

0 Comments

โพสต์ใหม่ล่าสุด

Sponsor Ad

โพสต์ยอดนิยม

Sponsor