5 การทดลองวิทยาศาสตร์แบบง่ายๆ แสนสนุก + ทำได้เองที่บ้าน EP2

มีนาคม 09, 2562





มาอีกรอบตามคำเรียกร้องค่า 🔍

อีก 5 การทดลองวิทยาศาสตร์แบบง่ายๆ แสนสนุกทำได้เองที่บ้าน  ตอนที่ 2 จากที่เคยทำไป5กิจกรรมครั้งที่แล้วที่ลิ้งค์นี้ -->5 การทดลองวิทยาศาสตร์แบบง่าย แสนสนุก+ทำได้เองที่บ้าน ตอนที่1

การทดลองที่ 6 : ลูกอมก้อนหิน (Rock Candy)

อุปกรณ์

1. น้ำตาลทราย 3 ถ้วยตวง
2. น้ำเปล่า 1 ถ้วยตวง
3. ขวดแก้วที่ทนความร้อน
4. ไม้เสียบลูกชิ้น
5. ที่หนีบผ้า
6. สีผสมอาหาร
7. หม้อ



วิธีการทดลอง

    1. เทน้ำเปล่าลงในหม้อ ต้มจนน้ำเริ่มร้อน
    2. ค่อยๆเทน้ำตาลลงไป (ใช้ไฟอ่อนเพื่อไม่ให้น้ำตาลไหม้) คนจนน้ำตาลจะละลายหมด แล้วพักทิ้งไว้ให้เย็น
    3. ระหว่างที่รอน้ำตาลต้มเย็นตัว   เราจะทำแท่งแกนที่จะให้น้ำตาลมาเกาะผลึก โดยนำไม้เสียบลูกชิ้นชุบน้ำพอหมาดๆ แล้วนำมากลิ้งคลุกกับน้ำตาล  แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง)
    4.เมื่อน้ำตาลที่ต้มไว้เริ่มเย็นตัว ให้เทลงในภาชนะที่จะใช้ทำการตกผลึกน้ำตาล
    5.หยดสีผสมอาหารแต่ละสีที่ต้องการลงไปในสารละลายน้ำตาลแต่ละขวดที่เตรียมไว้แล้วคนให้สีเข้ากันกับสารละลายน้ำตาล
    6. ค่อยๆหย่อนไม้เสียบลูกชิ้นเป็นแกนตกผลึกลงไป ใช้ไม้หนีบผ้ายึดไว้เพื่อให้ไม้จมอยู่ในสารละลาย ต้องไม้เสียบลูกชิ้นจะต้องไม่สัมผัสกับผิวด้านข้างหรือด้านล่างของขวดแก้ว
    7.ครอบปากขวดด้วยกระดาษหรือถุงพลาสติก เพื่อป้องกันแมลงและสิ่งสกปรก
    8.ตั้งขวดไว้ ประมาณ 4-7 วัน สารละลายน้ำตาลจะเริ่มตกผลึกจนสังเกตเห็นได้ และยิ่งทิ้งไว้นานกว่านั้น ผลึกน้ำตาลจะมีขนาดใหญ่ขึ้น ในระหว่างที่ตั้งทิ้งไว้ไม่ควรขยับเขยื้อนขวดแก้ว



สรุปผลการทดลอง -> ทำไมผลึกน้ำตาลถึงเกาะตัวใหญ่ขึ้น?

น้ำตาลเป็นสสารที่ละลายน้ำได้ ณ อุณหภูมิหนึ่ง ถ้าเราใส่น้ำตาลลงในน้ำเยอะจนถึงจุดที่น้ำตาลไม่สามารถละลายน้ำได้อีก สารละลายน้ำตาลนี้จะเป็นสารละลายอิ่มตัว แต่ถ้าเราใช้ความร้อนเพิ่มเข้าไปน้ำตาลจะสามารถละลายในน้ำต่อไปจนกลายเป็นสารละลายอิ่มตัวยวดยิ่ง เมื่อตั้งทิ้งไว้จะเกิดการตกผลึกส่วนเกินออกมานั่นเอง

การทดลองที่ 7 กระดาษปากแก้วมหัศจรรย์ (Paper cover)


อุปกรณ์

1. แก้ว 1 ใบ
2. น้ำเปล่า
3. กระดาษ

วิธีการทดลอง

1.เทน้ำให้เต็มแก้ว จากนั้นนำกระดาษมาตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสวางไว้บนขอบแก้ว
2.ค่อย ๆ คว่ำแก้วลงอย่างช้าๆ แล้วลองให้เด็กๆสังเกตผลการทดลองที่เกิดขึ้น จะพบว่าแผ่นกระดาษนั้นติดไปกับแก้วไม่หล่นลงมา และสามารถปิดน้ำไม่ให้หกเลอะเลอะอีกด้วย

สรุปผลการทดลอง -> ทำไมกระดาษไม่หล่นลงมา?

เหตุผลก็คือ กระดาษที่ปิดปากแก้วเอาไว้นั้น ทำให้เกิดแรงดัน ซึ่งภายในแก้วนั้นมีทั้งน้ำและอากาศอยู่ แต่อากาศภายในแก้วมีน้อยกว่าอากาศที่อยู่ภายนอก จึงเกิดการดันกันทำให้กระดาษไม่ตกลงมา

การทดลองที่ 8 จรวดลูกโป่ง ( Rocket Balloon)

อุปกรณ์

1. ลูกโป่ง
2. เชือกหรือไหมพรม
3. หลอดดูดน้ำพลาสติก
4. เทป
5. กรรไกร





วิธีการทดลอง

1.ผูกเชือกข้างหนึ่งกับเสาที่บ้าน  ร้อยเชือกผ่านหลอดพลาสติก ดึงให้ตึงแล้วผูกเชือกอีกข้างกับเสาในบ้านอีกด้านหนึ่ง
2.เป่าลูกโป่งขนาดตามต้องการ
3.เอามือบีบปากลูกโป่งไว้ แล้วใช้เทปแปะลูกโป่งกับหลอดพลาสติก
4.นับถอยหลัง...พร้อมแล้วก็ปล่อยมือที่บีบปากลูกโป่งไว้ได้เลย จะใช้คลิปมาช่วยหนีบลูกโป่งแทนมือก็ได้นะคะ

สรุปผลการทดลอง -> ทำไมลูกโป่งถึงพุ่งเป็นจรวจ?

ลูกโป่งที่พองตัวออกเพราะมีลมที่เราเป่าเข้า พอเราปล่อยมือ แรงของลมที่แย่งกันหนีออกมาจากลูกโป่งเลยดันให้ลูกโป่งพุ่งออกไปข้างหน้านั่นเอง

ารทดลองที่ 9 จมหรือลอย ( Sink or Float )

  อุปกรณ์

 1.อ่างแก้วใส่น้ำหรืออ่างพลาสติกใส
 2.ของเล่นหรือของใช้ที่ทำจากวัสดุต่างๆ
    3.แบบบันทึกข้อมูลการจมและการลอยของสิ่งของต่างๆ

    วิธีการทดลอง

1.เทน้ำใส่ในอ่างแก้วน้ำจนเกือบเต็ม
2.ให้เด็กๆสังเกตุของเล่นหรือของใช้ที่นำมาทดลองว่ามีลักษณะแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
3.ให้เด็กๆนำของเล่นและของใช้ไปลอยน้ำ สังเกตุการทดลอง และจดบันทึกว่าของชิ้นจมน้ำและของชิ้นไหนลอยน้ำบ้าง

สรุปผลการทดลอง -> ทำไมของบางอย่างถึงจม แต่บางอย่างถึงลอย?

วัตถุของเล่นหรือของใช้ที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ จะทำให้ลอยน้ำแต่ถ้าวัตถุชิ้นไหนที่มีความหนาแน่นมากกว่าน้ำก็จะทำให้วัตถุนั้นจมน้ำ เช่น รถเหล็กมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำก็จะจมน้ำ ฝาขวดที่ทำจากพลาสติกมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำก็จะทำให้ลอยน้ำ

การทดลองที่ 10 ใบไม้ถูกเผาด้วยแว่นขยาย ( Fire!! Magnifying Glass)

อุปกรณ์

1.แว่นขยาย (แว่นขยายสำหรับเด็กก็ใช้ได้)
2.ใบไม้แห้งที่ร่วงลงตามพื้น
3.แสงอาทิตย์ (เลือกในช่วงเวลาที่มีแดดแรง)

วิธีการทดลอง

    1.หยิบใบไม้มาวางไว้ที่พื้นกลางแดด
    2.เอาแว่นขยายมารับแสง
    3.ปรับมุมรับแสง โดยให้สังเกตุจากแสงที่ส่องผ่านจะเป็นรูปทรงกลม
    4.ปรับระยะแว่นขยาย ใกล้/ไกล เพื่อให้แสง เกิดเป็นจุดเล็กที่สุดเท่าที่จะทำได้
    5.ถ้าระยะถูกต้อง จะเกิดจุดรวมแสง ซึ่งจะทำให้เกิดการเผาไหม้

สรุปผลการทดลอง -> ทำไมใบไม้แห้งถึงถูกเผา?
เลนส์นูนของแว่นขยาย จะทำหน้าที่เป็นตัวรับแสง และเมื่อเราหาระยะที่เรียกว่าจุดรวมแสงเจอ (จุดโฟกัส)  จะทำให้เกิดพลังงานความร้อนสูงจนสามารถทำให้เกิดการเผาไหม้






You Might Also Like

0 Comments

โพสต์ใหม่ล่าสุด

Sponsor Ad

โพสต์ยอดนิยม

Sponsor