กระบะทรายฝึกเขียนแบบมอนเตสซอรี่ |
พอเราไม่ได้พาลูกไปโรงเรียน
เราเลยไม่ค่อยได้โฟกัสหรือมีความมุ่งมั่นที่จะทำให้ลูกฝึกเขียนให้ได้ภายในช่วงวัยอนุบาล
ไม่เคยกดดันให้ลูกรีบจับดินสอปากกาหรือเร่งให้ลูกรีบเขียนให้ได้
เขียนให้เป็นประโยค ทั้งที่ตอนนี้ลูกก็5ขวบกว่าแล้ว
เขียนให้เป็นประโยค ทั้งที่ตอนนี้ลูกก็5ขวบกว่าแล้ว
และในทางตรงกันข้าม
เราก็ไม่ได้รอจนถึง7ขวบถึงให้เริ่มจับดินสอปากกาด้วยเหมือนกันค่ะ
เราก็ไม่ได้รอจนถึง7ขวบถึงให้เริ่มจับดินสอปากกาด้วยเหมือนกันค่ะ
เอาเป็นว่าเราคอยสังเกตุลูกเป็นหลัก
ถ้าเริ่มมีความสนใจเมื่อไหร่
ก็อาศัยจังหวะนั้นให้ลูกฝึกเขียนได้ตามใจเค้าเลย
ก็อาศัยจังหวะนั้นให้ลูกฝึกเขียนได้ตามใจเค้าเลย
จากที่สังเกตุลูกตัวเองกับลูกเพื่อนๆที่ทำโฮมสคูลด้วยกันมา
ส่วนใหญ่จะเป็นเด็กผู้ชายที่จะเริ่มสนใจการเขียนช้ากว่าเด็กผู้หญิง
แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนนะคะ มีเด็กชายบางคนเค้าก็อ่านออกเขียนได้ตั้งแต่ก่อนวัยอนุบาลแล้วค่ะ
หลักๆก็อยู่ที่ครอบครัวนั่นแหละค่ะ
บางบ้านก็ฝึกให้ลูกอ่านเขียนออกได้เร็ว บางบ้านก็ไปแบบช้าไม่ได้รีบร้อนอะไร
บางบ้านก็ฝึกให้ลูกอ่านเขียนออกได้เร็ว บางบ้านก็ไปแบบช้าไม่ได้รีบร้อนอะไร
บางบ้านก็มีวิธีสอนลูกเขียนอ่านได้อย่างน่าทึ่งมากๆ
แต่ที่แน่ๆคือ เด็กมีความพร้อมในการเขียนไม่เท่ากัน
และเมื่อถึงเวลาของเค้า เค้าจะอยากเขียนเองโดยที่เราไม่ต้องกังวลหรือเคี่ยวเข็ญอะไรเลย
5 วิธีการที่เราคอยส่งเสริมให้ลูกฝึกเขียนก็จะประมาณนี้ค่ะ
1.เตรียมดินสอ ปากกา สมุด กระดาษให้พร้อม
ติดปากกาไว้ในกระเป๋า เก็บสมุดโน๊ตไว้ในรถ มีโต๊ะเขียนหนังสือหลายมุมในบ้าน เกิดอยากเขียนมาที่ไหนเมื่อไหร่ก็เขียนได้เลย บ้านเรามีแม้แต่ปากกาเขียนกระจกค่ะ
ตอน4ขวบ ก็เริ่มมีสมุดบันทึกเล่มเล็กๆให้ลูกพกไว้เป็นของส่วนตัว เวลาไปไหนมาไหนก็ให้กลับมาบันทึกร่องรอยทิ้งไว้ เขียนยังไม่ได้ก็วาดรูปเอา
ถ่ายทอดเองได้ตามสะดวกใจ
แต่ถึงเตรียมให้แบบครบครัน มันก็มีบ้างค่ะที่ลูกชายจะแหกคอกด้วยการประทับลายมือเขียนติดที่โต๊ะ,เก้าอี้
2.เริ่มจากการเขียนแบบง่าย
เราจำเป็นต้องเข้าใจธรรมชาติของลูกค่ะ ถ้าความสนใจในการเขียนของลูกมีมาก
ทั้งวันเอาแต่นั่งเขียนๆแบบนี้เค้าก็จะไปได้ไว
พ่อแม่ก็ต้องตามให้ทัน แต่ถ้าไม่มากเท่าไหร่เราก็อาจจะค่อยเป็นค่อยไปในการฝึกและไม่ควรข้ามไปฝึกในระดับที่ยากเกินไป เช่นจะป.1แล้วควรเขียนได้เท่านี้ จะป.2แล้วควรเขียนได้เท่านี้
วางเกณฑ์แบบกลางๆเอาไว้ก่อนค่ะ
ลูกเราได้แค่ไหนเราต้องเริ่มจากตรงนั้น ลูก7ขวบแล้วแต่ทักษะการเขียนยังอยู่ในระดับอนุบาลก็ต้องเริ่มฝึกในระดับอนุบาล ความจริงมีเพียงหนึ่งเดียวค่ะ
เริ่มต้นโดยให้ลูกเขียนสิ่งที่ลูกพอจะเขียนได้สักเล็กน้อยก่อน เพื่อเพิ่มขวัญและกำลังใจ
ทำให้ลูกเกิดความรู้สึกที่ดีกับเขียนหนังสือด้วยการปล่อยให้ลูกโชว์คำที่ลูกเขียนได้
สีหน้าท่าทางของเราก็มีผลกับลูกนะคะ เป็นแรงขับชั้นดีที่จะทำให้ลูกอยากเขียนบ่อยๆหรือไม่อยากยุ่งกับการเขียนอีกเลย ดังนั้นต้องระวังให้ดีค่ะ
3.ถ้าลูกไม่อยากเขียนตามเส้นประก็ไม่ต้องฝืนบังคับ
มีเด็กอยู่มากมายเลยที่ไม่ชอบเขียนตามเส้นประ สิ่งนี้บอกอะไรกับเรา? เด็กๆไม่ชอบถูกบังคับยังไงคะ
เราไม่รู้ว่าครอบครัวอื่นกังวลเรื่องการเขียนให้ถูก
เขียนให้สวยตามแบบมากขนาดไหนนะคะ
ส่วนตัวเราเรื่องสวยไม่สวยนี่ไม่ซีเรียส แต่เรื่องเขียนให้ถูกก็ยังให้ความสำคัญอยู่พอสมควร
ถ้าลูกเขียนผิด,เขียนกลับด้าน,กลับหัวกลับหาง ถ้าบอกว่าผิดให้แก้เลยบางทีกลายเป็นต่อต้านไปซะงั้น
แต่ถ้าลองบอกแบบติดตลก
ลูกจะไม่รู้สึกว่ากำลังถูกตำหนิอยู่ เค้าก็จะตลกตามเราแล้วแก้ให้ถูกของเค้าเอง
ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องดูนิสัยของลูกเราด้วยค่ะ บางคนเค้าอาจจะเซนซิทีฟมาก อันนี้ต้องหาทางแก้ไขสิ่งผิดแบบละมุนละม่อมที่สุดค่ะ
เคยได้ยินเพื่อนเล่าให้ฟังว่า ลูกชายเค้าไปโรงเรียนก็ไม่ค่อยชอบเขียนตามเส้นประเหมือนกัน
ยิ่งครูคอยกำกับบอกให้เขียนดีๆเขียนสวยๆลูกกลับเขียนตัวใหญ่เท่าหม้อบ้าง บางทีก็ย่อขนาดเขียนเท่ามดก็มี
แต่สำหรับเราที่ไม่บังคับให้เค้าเขียนตามเส้นประเลย
ลูกกลับไม่มีอาการแบบนี้นะคะ
4.อย่าตั้งเป้าให้ลูกเขียนเยอะเกินไป
อันนี้สำคัญที่สุด ถ้าพ่อแม่ลืมตัวแบบว่าได้คืบจะเอาศอก
ยิ่งพอเห็นลูกเขียนหนังสือช้ากว่าเพื่อนก็เกิดความกังวลและพยายามอัดให้ลูกฝึกเขียนเยอะๆเพื่อที่จะได้ทันเพื่อนได้เร็วๆ หรือที่ตั้งเป้าเพราะว่ากลัวลูกจะกลายเป็นเด็กเหลาะแหละ
แต่แทนที่จะดี กลับผลักไสให้ลูกยิ่งรู้สึกไม่อยากเขียน,ต่อต้าน,เผลอๆเกลียดการเขียนหนังสือหนักไปอีก เมื่อถึงเวลาที่เรียกมาฝึก ลูกอาจมีอาการเริ่มรู้สึกกระวนกระวาย,วิ่งหนี,ตีเนียนทำเป็นไม่ได้ยิน หนักๆก็ถึงขั้นดราม่า ร้องไห้ไปเลยก็มี
แต่แทนที่จะดี กลับผลักไสให้ลูกยิ่งรู้สึกไม่อยากเขียน,ต่อต้าน,เผลอๆเกลียดการเขียนหนังสือหนักไปอีก เมื่อถึงเวลาที่เรียกมาฝึก ลูกอาจมีอาการเริ่มรู้สึกกระวนกระวาย,วิ่งหนี,ตีเนียนทำเป็นไม่ได้ยิน หนักๆก็ถึงขั้นดราม่า ร้องไห้ไปเลยก็มี
ดังนั้นอย่าใช้เวลาในการฝึกเขียนมากเกินไปค่ะ
อย่าบังคับว่า วันนี้ต้องได้กี่บรรทัด เพราะถ้าลูกไม่ให้ร่วมมือ ทำหน้าเบื่อ รู้สึกกดดันไม่อยากเขียน
พ่อแม่ก็จะกดดันในการสอนไปด้วย พาลจะพังไปกันใหญ่นะคะ
เรื่องกลัวลูกเหลาะแหละ ลองดูภาพรวมก่อนว่าเค้าเป็นแบบนี้กับทุกเรื่องมั้ย หรือแค่เรื่องที่เค้าไม่ชอบเท่านั้นเอง เด็กๆที่ถูกฝึกเรื่องวินัยมาอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอ ไม่ว่าเค้าทำอะไรเค้าจะสามารถตั้งเป้าในใจของเค้าเองได้ค่ะ
เรื่องกลัวลูกเหลาะแหละ ลองดูภาพรวมก่อนว่าเค้าเป็นแบบนี้กับทุกเรื่องมั้ย หรือแค่เรื่องที่เค้าไม่ชอบเท่านั้นเอง เด็กๆที่ถูกฝึกเรื่องวินัยมาอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอ ไม่ว่าเค้าทำอะไรเค้าจะสามารถตั้งเป้าในใจของเค้าเองได้ค่ะ
5.ปล่อยลูกเขียนสิ่งที่ลูกชอบด้วยมือข้างที่ถนัด
สำหรับลูกเรา เค้าให้ความร่วมมือเรียนเขียนอ่านตามหลักการและทำแบบฝึกหัดพอเป็นพิธีค่ะ 😅
แต่แรงจูงใจในการเขียนของเค้าคือ เรื่องราวที่เค้าอินในตอนนั้น ครอบครัว เพื่อนสนิท ของเล่นชิ้นโปรด การ์ตูนที่ชอบ
เพลงที่ชอบ หนังที่ชอบ สิ่งเหล่านี้เป็นแรงขับหลักให้ลูกตะบี้ตะบันเขียน
อันไหนเขียนไม่ได้ก็ถามพ่อแม่ เขียนบ่อยเค้าก็จะจำได้เอง
เริ่มจากเขียนชื่อตัวเอง,ชื่อน้อง,ชื่อพ่อแม่ พอเริ่มมีเพื่อนก็สนใจเขียนชื่อเพื่อน ทำการ์ดวันเกิดให้เพื่อน ของเล่นที่ชอบมากตอนนี้คือรถเหล็กHotwheels ซึ่งรถทุกคันจะมีชื่อติดอยู่ตรงท้องรถ วันๆเค้าก็จะเอาชื่อรถพวกนี้แหละค่ะมานั่งเขียนวนไป ล่าสุดคือเริ่มสนใจเพลงก็จะขอปริ้นท์เนื้อเพลงมานั่งดู คำไหนที่เค้าอ่านออก เค้าจะวงกลมไว้แล้วเอามาฝึกเขียนค่ะ
สมัยนี้พ่อแม่ส่วนใหญ่ไม่บังคับลูกที่ถนัดมือซ้ายมาเขียนด้วยมือขวาแล้วนะคะ และจากที่สังเกตุลูกของเพื่อนๆที่ส่วนใหญ่มีเด็กถนัดซ้ายในสัดส่วนที่ไม่น้อยเลย อาจเป็นไปได้ว่าที่จริงก็เป็นสัดส่วนปกติอยู่แล้ว แต่ในสมัยก่อนพวกเรามักถูกบังคับให้กลับมาเขียนด้วยมือขวาเท่านั้นเอง
ความจำเป็นในการฝึกเขียนอ่านของแต่ละครอบครัวไม่เหมือนกัน
เราเข้าใจว่าถ้าลูกไปโรงเรียน พ่อแม่ก็อยากให้ลูกอ่านเขียนให้ทันตามหลักสูตรที่โรงเรียนสอน
การเขียนได้ช้าก็อาจจะส่งผลการเรียน การบ้าน ความรู้สึกลูกและปัจจัยอีกหลายๆอย่าง
การเขียนได้ช้าก็อาจจะส่งผลการเรียน การบ้าน ความรู้สึกลูกและปัจจัยอีกหลายๆอย่าง
และการที่เราทำโฮมสคูล ความจำเป็นในการฝึกอ่านเขียนก็เลยแตกต่างออกไป
ไม่ได้หมายความว่าไม่จำเป็นนะคะ แค่ไม่ได้รีบร้อน
ไม่ได้หมายความว่าไม่จำเป็นนะคะ แค่ไม่ได้รีบร้อน
ตอนนี้ลูกเราก็ยังเขียนได้ไม่เยอะถ้าเทียบกับเด็กรุ่นเดียวกันส่วนใหญ่ แถมภาษาไทยยังไม่กระดิกเลย
แต่เราโอเคกับสิ่งที่เป็นอยู่ค่ะและยังไม่เคยพบปัญหาลูกต่อต้าน,ลูกไม่ยอมเขียนอะไรทำนองนี้เลย นอกจากขอไม่เขียนตามเส้นประ
หลายครั้งที่ได้ยินเรื่องราวเพื่อนๆที่พาลูกไปโรงเรียนต้องเจอกับปัญหาเด็กไม่อยากเขียน
เพราะโดนครูว่าลูกเขียนไม่ดี,เขียนไม่สวย,เขียนผิด,หรือแม้แต่เขียนเสร็จช้า!!!
และอีกสิ่งหนึ่งที่ปฏิบัติกันมาช้านานเช่นการบังคับให้เด็กถนัดซ้ายเขียนด้วยมือขวา
อยากจะบอกว่าคำพูดของพ่อแม่,คนในครอบครัว,และครูมีผลกับกำลังใจเด็กมากกว่าที่เราคิดนะคะ
และบ่อยครั้งที่เด็กๆแคร์คำพูดของครูและเพื่อนมากกว่าคนที่บ้านอีก
เอาเป็นว่า ถ้าพ่อแม่ครอบครัวไหนจำเป็นต้องติวเข้มฝึกการเขียนให้ลูก ไม่ว่าจะเป็นเรียนในระบบหรือเรียนแบบโฮมสคูล ขอให้ค้นหาวิธีฝึกลูกอย่างมีความสุขที่สุดค่ะ ให้ลูกสนุกไปกับการฝึกเขียนมากกว่าเสียงบ่นและคราบน้ำตานะคะ