5 เคล็ดลับฝึกลูกให้มีวิธีคิดแบบ Critical Thinking หรือ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ตั้งแต่อายุยังน้อย
พฤษภาคม 08, 2562นอกจาก ความคิดสร้างสรรค์ การสื่อสาร การทำงานร่วมกัน อีกทักษะสำคัญในยุค 4.0 นี้ คือ Critical Thinking หรือการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
Critical
Thinking คือทักษะการคิดที่เกิดจากความตั้งใจที่จะพิจารณาตัดสินเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
โดยการไม่เห็นคล้อยตามข้ออ้างต่างๆ แต่ตั้งคำถามท้าทาย
หรือโต้แย้งข้ออ้างนั้นเพื่อเปิดแนวทางความคิดออกสู่ทางที่แตกต่าง
อันนำไปสู่การแสวงหาคำตอบที่สมเหตุสมผล
ขอยกมือเห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ
ว่าในยุคข้อมูลข่าวสารล้นโลกขนาดนี้ ทักษะที่สำคัญที่เราคิดว่าต้องสอนลูกคือ
- การคัดสรรข้อมูข่าวสาร พิจารณาได้ว่าเรื่องใดจริงไม่จริง น่าเชื่อถือหรือไม่
- ความสามารถในการแยกแยะความเห็นส่วนตัว,อคติ และตรรกะที่ผิดเพี้ยนจากความจริงได้
- สามารถโต้แย้งด้วยเหตุผลที่มีน้ำหนักจากความคิดของตัวเอง
- มองเห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงของเหตุปัจจัยต่างๆอย่างเข้าใจจนวิเคราะห์ข้อสรุปที่ถูกต้องเชื่อถือได้ในที่สุด
Critical
Thinking หรือการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นสิ่งที่เริ่มต้นสะสมมาในวัยเด็ก
ลูกของเราเป็นนักคิดแบบไหน?
เชื่อทุกอย่างที่เห็นในทีวีหรือไม่? ลูกมักจะคิดหาวิธีทำอะไรบ้างอย่างเพื่อให้ได้สิ่งที่ลูกต้องการมั้ย?
ความจริงคือ การคิดอย่างมีวิจารณญาณไม่ได้มีไว้สำหรับสอนเด็กเท่านั้น บางครั้งผู้ใหญ่อย่างเราก็ต้องหมั่นฝึกการคิดเชิงวิเคราะห์และปรับปรุงทัศนคติเก่าๆที่ติดตัวมานานด้วย
แล้วเราจะสนับสนุนให้ลูกคิดอย่างมีวิจารณญาณตั้งแต่อายุยังน้อยได้อย่างไร?
ถึงจะไม่มีหลักสูตรไหนที่สอนลูกคิดอย่างมีวิจารณญาณได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่หากอยากให้ลูกเก่งในการคิด เราจะต้องทำให้ลูกเชื่อว่าการคิดเป็นเรื่องสนุก
พ่อแม่สามารถสร้างความสนุกสนานในการคิดให้ลูกได้ในชีวิตประจำวัน สอดแทรกได้แทบทุกกิจกรรม
ดังนั้นงานเราจะเพิ่มมากขึ้นแน่นอนค่ะ ปกติเราอาจจะปล่อยให้ลูกๆได้เล่นอย่างอิสระ,ทำกิจกรรมที่ชอบอยู่แล้ว
และจากที่เราเคยใช้เวลาทองนี้ก้มหน้าตาก้มตารีบทำแต่ธุระของเรา บางทีเราอาจจะต้องเพิ่มความไวต่อการรับรู้
เพิ่มการสังเกตุความเป็นไปของลูกเพื่อคอยหาจังหวะ
เตรียมชุดคำถามเอาไว้ให้ลูกฝึกคิดกันจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
เคล็ดลับและแนวคิดที่จะช่วยให้ลูกสร้างรากฐานพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
1.ปล่อยให้ลูกๆได้เล่นอย่างอิสระ
ช่วงเวลาที่ลูกเล่น
ลูกจะสำรวจหาสาเหตุและผลโดยธรรมชาติ จะเกิดอะไรขึ้นถ้าโยนช้อนตกจากเก้าอี้กินข้าว
ไหนลองซ้ำแล้วซ้ำอีกดูซิ จะเอาลูกแก้วสองลูกใส่ในขวดพร้อมกันได้มั้ย
จะต่อบล็อคขึ้นไปให้สูงและสมดุลได้ยังไง ทุกการเล่นของลูกเราแค่ปล่อยให้ลูกลองทำอะไรและดูปฏิกิริยาที่ลูกตอบสนอง
แล้วลองดูว่าถ้าเกิดเหตุเป็นอย่างอื่นลูกสามารถสร้างปฏิกิริยาที่แตกต่างออกไปได้มั้ยประสบการณ์ตรงนี้เป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการคิดเชิงวิพากษ์ในภายหลัง
2.หยุดรอ อย่าเข้าไปแทรกแซงทันที
ให้เวลากับลูกได้คิดได้ตัดสินใจว่าจะทำยังไงกับสถานการณ์ตรงหน้า
การรีบเข้าไปช่วยลูก จะทำให้กระบวนการคิดของลูกสะดุด เมื่อทุกอย่างทำง่าย แก้ไขง่ายด้วยการมีคนอื่นมาช่วยอย่างรวดเร็ว
จะทำให้ลูกเสพติดการรอให้คนอื่นช่วยอยู่ตลอดเวลา
แถมยังไม่อดทนที่จะรอรับการช่วยเหลืออีกด้วย สังเกตุจากเด็กที่หงุดหงิดโวยวายเมื่อทำอะไรเองไม่ได้และผู้ช่วยเหลือยังไม่ทันได้ช่วย
3.ถามคำถามปลายเปิด
"ลูกว่ามันเกิดอะไรขึ้นที่นี่" เคารพคำตอบของลูกไม่ว่าลูกจะตอบเป็นยังไง อาจจะถามต่อว่า
"น่าสนใจบอกแม่หน่อยได้มั้ย ทำไมลูกถึงคิดอย่างนั้น"
"แล้วลูกว่าเราจะทำยังไงกันดีละ"
ถ้าลูกตอบไม่ได้หรือไม่รู้ ต้องหาคำถามที่ให้ลูกพยายามหาทางออก
“แล้วลูกจะรู้ได้ยังไง”
“ลูกว่าเราจะหาวิธี(ข้อมูลเพิ่มเติม)แก้ปัญหาเรื่องนี้ได้ที่ไหนดี"
การที่ให้ลูกตอบคำถามนี้เรายังสามารถประเมินว่าลูกได้รับข้อมูลจากที่ไหนเป็นหลัก
4.ช่วยให้เด็กพัฒนาสมมติฐาน
สละเวลาของเราเพื่อตั้งสมมติฐานระหว่างการเล่นเพื่อฝึกหัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ลองถามลูกว่า"ถ้าเราทำแบบนี้ ลูกว่าจะเกิดอะไรขึ้น"หรือ"ลองทายดูซิ
ว่ามันจะเกิดอะไรขึ้น"
5.ส่งเสริมให้ลูกคิดใหม่และแตกต่าง
การให้อิสระลูกในการคิดต่างเป็นการคอยช่วยให้ลูกฝึกฝนทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
ถามคำถามลูกว่า
"ลูกมีไอเดียอื่นอีกมั้ย"
"เราจะมีวิธีไหนได้อีก"หรือลองให้ลูกสร้างทางเลือกด้วยคำถาม
"ลองคิดถึงวิธีแก้ปัญหาที่เป็นไปได้ทั้งหมดดูมั้ย"
ในช่วงที่ลูกยังเล็ก การฝึกทักษะCritical Thinking เราอาจจะจำเป็นต้องก้าวเข้ามาช่วยสร้างสถานการณ์ที่พัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณทั้งของลูกและของตัวเราเองค่ะ
เพราะลูกจะเรียนรู้จากการสังเกตว่าเราคิดอย่างไรด้วย
เมื่อลูกโตขึ้นเราสามารถตั้งถามเชิงวิเคราะห์กับลูกได้ทุกเรื่อง
โดยที่เราเองก็ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในสิ่งที่ลูกกำลังเรียนรู้อยู่ เพราะนี่คือการสอนให้พวกเขาคิดด้วยตนเอง
เราไม่รู้เราก็ตั้งคำถามและเรียนรู้ไปพร้อมกับลูกเลย ยิ่งลูกโตขึ้นบทบาทของเราจะยิ่งลดลงเรื่อยๆ
จนสุดท้ายเราจะมีหน้าที่แค่ตั้งใจฟังลูกเท่านั้นเอง
เหนื่อยและเสียเวลาในตอนนี้ค่ะ เพราะทักษะCritical Thinking นั้นเป็นทักษะที่จำเป็นมากและฝึกยากที่สุด
เพราะเป็นทักษะที่เป็นนามธรรม เป็นพื้นที่สีเทาจะผิดจะถูกมาจากการประเมินด้วยตัวเองล้วนๆ
และจริงแท้แน่นอนที่สุดคือ...
ในทุกสาขาอาชีพ ทุกลักษณะงานในองค์กร โดยเฉพาะเจ้าของธุรกิจ
จำเป็นต้องใช้ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการแก้ปัญหาทั้งสิ้น
สำหรับบ้านที่ลูกๆชอบเล่นเกมส์แบบฝึกหัด สามารถตามไปโหลดเกมส์ฝึกการคิดได้ฟรีที่นี่ค่ะ critical-thinking-worksheets
0 Comments